วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บุคลสำคัญ

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ไฟล์:สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี.jpg
พระประวัติ

สัญลักษณ์ประจำพระองค์สมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี

               สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ ทรงเป็นบุตรคนที่ ๓ ใน พระชนกชู และ พระชนนีคำ ทรงมีพระภคินี และพระเชษฐา ๒ คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่พระอนุชาอ่อนกว่าพระองค์ ๒ ปี คือ คุณถมยา
                พระชนกชู มีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรชายของคหบดี ชื่อ ชุ่ม มีเชื้อสายสืบมาจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้ๆวัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี พระชนกชูได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่สมเด็จย่าทรงพระเยาว์มาก และพระชนนีคำถึงแก่กรรมเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษา หลังจากนั้นพระองค์ทรงอยู่ในความอุปการะของ ป้าซ้วย พี่สาวของพระชนนีคำ ซึ่งมีอาชีพรับจ้างม้วนบุหรี่ และทำขนมขาย
                พระชนนีคำเป็นผู้ที่รู้หนังสือ ซึ่งหาได้ยากในสมัยนั้น จึงได้นำความรู้นี้มาสอนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยพระอุปนิสัยที่ชอบการเรียนรู้ และการอ่านหนังสือตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์จึงทรงเป็นผู้ที่มีไหวพริบ และเฉลียวฉลาด
                 วันหนึ่ง ญาติของครอบครัวพระชนกชู มาแนะนำพระชนนีคำ ให้นำสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ไปฝาก คุณจันทร์ แสงชูโต ญาติ และพระพี่เลี้ยงใน สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อถวายตัวเป็นข้าหลวง ในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๗-๘ พรรษา
  • ขณะยังทรงศึกษา
                    ต่อมาเมื่อพระองค์ถูกส่งไปศึกษาที่โรงเรียนสตรีวิทยา โดยประทับอยู่บ้าน คุณหวน หงสกุล วัดมหรรณพาราม โรงเรียนเพื่อประชาชนสามัญแห่งแรก พระองค์ทรงถูกเข็มเย็บผ้าตำฝ่าพระหัตถ์ ต้องเข้ารับผ่าตัดกับ พระยาดำรงแพทยาคุณ(ฮวด วีระไวทยะ)
                    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงตัดสินพระทัยเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ตามคำชักชวนจากพระยาดำรงแพทยกุล หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงได้รับการคัดเลือกให้ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อที่ โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนางสาวอุบล ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์
                    ขณะที่กำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงพบและพอพระทัยกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ด้วยมีพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ ดังนั้นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับ นางสาวสังวาลย์
และเมื่อถึงวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้มีพิธีอภิเษกสมรสที่วังสระปทุม และหลังจากได้อภิเษกสมรสแล้ว ทั้ง ๒ พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่างๆ ในทวีปยุโรป และ สหรัฐอเมริกา เพื่อทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงเรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

  • ประสูติพระราชธิดา และพระราชโอรส



                     สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระราชโอรส พระราชธิดาหลังจากทั้ง ๒ พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงทรงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชธิดาพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามว่า หม่อมเจ้ากัลยาณิวัฒนา มหิดล ซึ่งภายหลังทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
                     ในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ทั้ง ๒ พระองค์ได้เสด็จกลับเมืองไทยพร้อมด้วยพระราชธิดา เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระบรมราชชนกทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ประทับอยู่ได้ประมาณ ๒๐ เดือน ก็ทรงประชวร แพทย์จึงถวายคำแนะนำให้ประทับในที่อากาศเย็น ที่เมือง ไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี สมเด็จพระบรมราชชนนี และพระราชธิดาจึงได้ตามเสด็จไปประทับด้วย
                      สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์แรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระนามว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล
                     ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ทั้ง ๒ สมเด็จพระบรมราชชนกจึงทรงต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯเพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ และประทับอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ประสูติพระราชโอรสองค์ที่สองที่ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
                     ขณะที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีสุดท้ายอยู่ที่เมืองบอสตัน ทรงประชวรโรคพระวักกะกำเริบ และพระโรคหวัด แต่ก็ยังทรงสามารถสอบได้ปริญญาแพทยศาสตร์ขั้นเกียรตินิยม แต่หลังจากสอบเสร็จ และประชวรพระโรคไส้ติ่งอักเสบ ทั้งสองพระองค์ได้พาพระราชโอรสธิดาเดินทางกลับประเทศไทย โดยประทับที่พระตำหนักใหม่สร้างขึ้นในวังสระปทุม ถนนพญาไท
                     เมื่อเดือน เมษายนพ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทรงรับเชิญเป็นแพทย์ประจำบ้าน จากโรงพยาบาลแมคคอร์มิก จังหวัดเชียงใหม่ และในเดือนต่อมาก็ทรงเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรอยู่ เป็นระยะเวลาประมาณ ๔ เดือนก็สิ้นพระชนม์ เมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่พระตำหนักใหม่
วังสระปทุม
พระราชกรณียกิจ

                   พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงมีต่อชาวไทยและประเทศชาตินั้นใหญ่หลวงมาก เพราะตั้งแต่ทรงเศกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ทรงมีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทรงงาน เพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรด ใต้สุด

การแพทย์ พยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา



ภาพ:P0004.jpg




สมเด็จย่าทรงจัดตั้งหน่วยและมูลนิธิที่สำคัญขึ้นดังนี้
  • หน่วยแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(พอ.สว.) เป็นหน่วยแพทย์อาสาเคลื่อนที่ที่เดินไปในถิ่นทุรกันดาร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และสมาชิกสมทบอีกคณะหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รับสิ่งตอบแทน และ เบี้ยเลี้ยง เงินเดือน
  • มูลนิธิขาเทียม จัดตั้งเมื่อ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕
  • มูลนิธิถันยรักษ์ ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อใช้เป็นสถานที่ตรวจวินิจฉัยเต้านม ทรงบริจาคเงินเพื่อสร้างโรงเรียนกว่า ๑๘๕ โรงเรียน
  • ทรงรับเอาโครงการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนไว้ในพระราชูปถัมภ์
การอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม


              สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระราชวงศ์ที่โปรดธรรมชาติมาก ทรงสร้างพระตำหนักดอยตุง ขึ้นบริเวณดอยตุง เนื้อที่ ๒๙ ไร่ ๓ งาน ที่บ้านอีก้อป่ากล้วย อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เอง ในพื้นที่เช่าของกรมป่าไม้เป็นเวลานาน ๓๐ ปี มีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๑๐๐๐ เมตร โดยทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า บ้านที่ดอยตุง ทรงพัฒนาดอยตุง และส่งเสริมงานให้ชาวเขาอีกด้วย ดังนี้
  • โครงการพัฒนาดอยตุง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑
  • ทรงพระราชทานกล้าไม้แก่ผู้ตามเสด็จ และทรงปลูกป่าด้วยพระองค์เอง
  • ทรงนำเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกา และไม้ดอกมาปลูก
  • โครงการขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กล้วยไม้ เห็ดหลินจือ สตรอเบอรี่
  • จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ที่บ้านผาหมี ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
               จากพระราชอุตสาหดังกล่าว และโครงการที่ยังมิได้นำเสนอขึ้นมาข้างต้นนี้ ยอดดอยที่เคยหัวโล้นด้วยการถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยปลูกฝิ่น จึงได้กลับกลายมาเป็นดอยที่เต็มไปด้วยป่าไม้ตามเดิม ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงได้รับขนานนามว่า สมเด็จย่าแม่ฟ้าหลวง จากชาวไทย ของชาวไทย

               ในวันอังคารที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี่ทรงได้เสด็จสวรรคต แต่พระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงปรารถนาให้ชาวไทยมีความสุข ยังคงสถิตถาวรอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วไทยตลอดกาล

บุคคลสำคัญของโลก
               วันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบรอบ ๑๐๐ ปี องค์การวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้เฉลิมพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก”

เส้นคั่นคอมเม้น
หมอบรัดเลย์
(แดน บีช บรัดเลย์)



 
                      หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิต (อังกฤษ: Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ประวัติ
แดน บีช บรัดเลย์ เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส (Marcellus) เกิดเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 บุตรคนที่ห้าของนายแดน บรัดเลย์และนางยูนิช บีช บรัดเลย์ สำเร็จการแพทย์จาก มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สมรสกับภรรยาคนแรก เอมิลี รอยส์ บรัดเลย์ และภรรยาคนที่สอง ซาราห์ แบลคลี บรัดเลย์
แดน บีช บรัดเลย์ ถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 ซึ่งตรงกับวันเกิดปีที่ 31 พอดี โดยมาถึงพร้อมภรรยา เอมิลี เข้ามาทำงานในคณะหมอสอนศาสนา เพรส ไบทีเรียน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2379 ในสมัยรัชกาลที่ 3 พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม 2378
ที่บ้านพักแห่งใหม่นี้ หมอบรัดเลย์ได้ทำการผ่าตัดครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์ของไทย โดยตัดแขนให้แก่พระภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2380 พระภิกษุรูปนั้นประสบอุบัติเหตุจากกระบอกบรรจุดินดำทำพลุแตก ในงานฉลองที่วัดประยุรวงศ์ ซึ่งประสบความสำเร็จดีจนเป็นที่เลื่องลือ เพราะแต่ก่อนคนไทยยังไม่รู้วิธีผ่าตัดร่างกายมนุษย์แล้วยังมีชีวิตอยู่ดี
เมื่อ พ.ศ. 2395 จึงมาเช่าที่หลวง ตั้งโรงพิมพ์อยู่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ข้างป้อมวิชัยประสิทธิ์ ติดกับพระราชวังเดิม พักอาศัยอยู่ที่นั่นจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2416 อายุ 69 ปี
ผลงาน